Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธ.ไทยเครดิต
เดินหน้าสู่ปีที่ 10 สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต วงเงินรวม 2.1 หมื่นล.

ธ.ไทยเครดิต
เดินหน้าสู่ปีที่ 10  สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต วงเงินรวม 2.1 หมื่นล.
1
เขียนโดย Intrend online 2025-05-06

ก้าวสู่ปีที่ 10  สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต ธ.ไทยเครดิต
สินเชื่อสู่ประตูการค้าขายที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ 6 พฤษภาคม 2568 – ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT ยึดมั่นนโยบายส่งเสริมการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าอย่างมีคุณภาพ ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจเคียงข้างผู้ประกอบการรายย่อย อันเป็นกลุ่มที่เข้าถึงเงินทุนในระบบได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ทำให้ขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถพลิกฟื้นการทำธุรกิจ และต่อยอดกิจการได้ ปัจจุบันธนาคารให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยมาแล้วกว่า 9 ปี โดยมีการให้สินเชื่อแก่พ่อค้าแม่ค้าในปัจจุบันมากกว่า 253,000 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมมากกว่า 21,000 ล้านบาท 
 


นายรอยย์ ออกุสตินัส กุนารา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “ธนาคารมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการค้าขาย สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสู่การขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ธนาคารได้มีการเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสและชุมชน ผ่านการจัดตั้งมูลนิธิไทยเครดิต ตลอดจนโครงการตังค์โต Know-How สำหรับให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่มีความสนใจ เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินให้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการแก้ปัญหาทางการเงินและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ดียิ่งขึ้น”  

 

 


นายกมลภู ภูริดิฐสกุล รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริหารธุรกิจไมโครไฟแนนซ์และสาขาสินเชื่อ กล่าวว่า “จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทำให้พ่อค้าแม่ค้ามีรายได้ลดลง แต่กลับกันต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น การเข้าถึงแหล่งเงินทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่จะได้มีเงินทุนไปหมุนเวียนในธุรกิจให้มีความคล่องตัว ธนาคารจึงได้มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆ มาเพื่อสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้า อีกทั้งธนาคารได้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนา สร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์ อี-วอลเล็ท” เพื่ออำนวยความสะดวกในการถอนเงินและการชำระเงินสินเชื่อ รวมถึงการพัฒนาระบบอื่นๆ ในการตอบโจทย์การประกอบการค้าขาย”
 
ในปี 2568 ธนาคารมีสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อยให้บริการทั่วประเทศมากกว่า 500 สาขา และมีพนักงานประจำสาขามากกว่า 1,200 คน และมีการให้สินเชื่อแก่พ่อค้าแม่ค้าแล้วมากกว่า 253,000 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมมากกว่า 21,000 ล้านบาท ภายใต้หลักเกณฑ์และมาตรการ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) 
 
“สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต ธนาคารไทยเครดิต ก้าวสู่ปีที่ 10  (ปี2558 - 2568) ในการยืนเคียงข้างแก่ผู้ประกอบการรายย่อย และมุ่งมั่นในการเดินหน้าสร้างโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ภายใต้ปรัชญา  “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ” นายกมลภูกล่าวปิดท้าย